ในยุคที่ธุรกิจมีการเติบโต และเกิดขึ้นมากมายทั้งเล็กและใหญ่ ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจอยากที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตนเองกันอย่างมาก แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักธุรกิจ Startup และ ธุรกิจ SMEs กันดีกว่า สำหรับผู้ที่คิดอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ยังไม่เข้าใจว่า ธุรกิจ Startup และ SMEs แตกต่างกันอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันค่ะ
ลักษณะของธุรกิจที่แตกต่าง
Startup : เป็นธุรกิจที่ตรงตามชื่อเลย คือ โมเดลธุรกิจริเริ่มไอเดียใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ยังไม่เพียงพอ
ตัวอย่างเช่น ปัญหาความเหงาของผู้คนมากมาย รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยว ทำให้เกิด Application ที่สร้างขึ้นมาทำให้คุณหายเหงาได้ ไม่ว่าจะเป็น หาเพื่อนไปทานข้าว พูดคุย ท่องเที่ยว และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พัฒนาความสัมพันธ์ต่อในระยะยาวอีกด้วย
หรือ ตัวอย่างที่ 2 ปัญหาของการหาที่พัก เมื่อออกไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ทำให้เกิดตัวช่วยที่ทำให้หาที่พักได้ง่ายขึ้น และราคาคุ้มค่า สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อย่าง Application Airbnb เป็นต้น
สำหรับธุรกิจ Startup ถือว่าการเติบโตของธุรกิจจะไม่มีขีดจำกัด เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถยืดหยุ่น ปรับตัว และต่อยอดได้เสมอ
SMEs : เรียกอีกชื่อคือ “Small and Enterprises” หมายถึง ธุรกิจที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งมีเอกชนเป็นเจ้าของ มีทั้งการค้าปลีก – ค้าส่ง หรือธุรกิจประเภทอื่น ๆ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ทัวร์ท่องเที่ยว โรงแรม รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ธุรกิจ SMEs เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง ไม่ถึงขั้นขนาดเล็ก หรือเปิดธุรกิจเกิดไอเดียใหม่ เฉกเช่น ธุรกิจ Startup
สรุปความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
Startup : ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การคิดค้น Application หรือ Website, E-Book เป็นต้น
SMEs : ทรัพย์สินที่จับต้องได้ เช่น ร้านอาหาร, เครื่องประดับ, แบรนด์เสื้อผ้า เป็นต้น
ขนาดของธุรกิจที่แตกต่าง
Startup : ธุรกิจที่เริ่มใหม่จากขนาดเล็ก และพัฒนาขึ้นไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น
SMEs : ธุรกิจขนาดเล็ก ที่พัฒนาไปจนถึงขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในอนาคต ซึ่งธุรกิจ SMEs อาจจะต้องใช้เวลาไม่มากก็น้อยในการเจริญเติบโตในท้องตลาด
แหล่งเงินทุนที่แตกต่าง
Startup : ส่วนใหญ่มาจาก Crowdfunding หรือการระดมทุนจากผู้ที่สนใจในธุรกิจของคุณ โดยจะแบ่ง การระดมทุน (Crowdfunding) เป็นทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
Donation Crowdfunding หรือ องค์กรการกุศล
เป็นการระดมทุนและให้การสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ Startup โดยไม่หวังผลตอบแทนReward Crowdfunding
การสนับสนุนทุนทรัพย์จากเจ้าของธุรกิจ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยผลตอบแทน เช่น ธุรกิจ Startup จะต้องสร้างสินค้าและบริการให้ผู้ระดมทุน เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อผู้ระดมทุนในอนาคตได้มากที่สุดEquity Crowdfunding
โดยนักลงทุนจะได้รับหุ้นแลกกับเงินทุนกับธุรกิจ Startup พร้อมสิทธิในหุ้น และโอกาสในการได้รับเงินปันผลจากธุรกิจ Startup ในอนาคตPeer to Peer Lending หรือ P2P Lending
เป็นการขอสินเชื่อจากนักลงทุน หรือการกู้ยืม โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งจะมีสัญญากู้ยืม และทำการชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา คล้ายกับขอสินเชื่อของธนาคาร
SMEs : แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มักมาจาก ทรัพย์สิน หรือเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจเองเป็นหลัก และอาจมีเงินทุนจากการกู้สินเชื่อจากธนาคาร หรือเงินร่วมลงทุนจากหุ้นส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมหุ้นกับเพื่อน, การร่วมลงทุนในครอบครัว หรือจะเป็นเงินทุนจากเจ้าของเพียงผู้เดียว เป็นต้น
ผลตอบแทน
Stratup : ผลตอบแทน คือการเติบโตของธุรกิจมากกว่าตัวเงินที่ได้รับ ซึ่งนับจากการผลิตชิ้นงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด นั้นคือผลตอบแทนของธุรกิจ Startup
SMEs : ผลตอบแทนมาจากกำไรโดยตรง นับจากตัวเงินที่หักลบกับทุนเรียบร้อยแล้ว
สรุป ความเสี่ยง ของเงินทุนระหว่าง Startup และ SMEs
Startup : ถึงแม้ว่าธุรกิจ Startup จะได้รับเงินสนับสนุนจากผู้ระดมทุนมากมาย แต่ถ้าหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ตามข้อตกลง หรือทำไม่ได้อย่างที่ได้นำเสนอไว้ ก็อาจทำให้ผู้ระดมทุนลดเงินสนับสนุน หรือไม่ร่วมระดมทุนในครั้งต่อ ๆ ไปได้อีก
SMEs : ขึ้นอยู่กับวางแผน การบริหาร และการจัดการเงินทุนของเจ้าของธุรกิจเป็นหลัก หากบริหาร หรือวางแผนได้ไม่ดี ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน ดังนั้น การวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อรองรับความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่ดีต่อการขาดทุนให้น้อยที่สุดได้
อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจนั้นย่อมมีทั้งได้กำไร ขาดทุน และมีความเสี่ยงไปพร้อม ๆ กัน แต่เป้าหมายของ 2 ธุรกิจ Startup และ SMEs ที่เหมือนกันก็คือ “การตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค” เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด นอกจากนี้การแสวงหาผลกำไรด้วยการต่อยอดจากธุรกิจที่มีอยู่แล้วของคุณก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง เพิ่มความยืดหยุ่น และทำความเข้าใจกับความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจของคุณมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในอนาคตได้
Effort has never betrayed anybody.
ความพยายามไม่เคยทรยศใคร
สำหรับธุรกิจ Startup ที่กำลังมองหาสำนักงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ให้ StarWork Coworking & Office space เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของคุณ
อ่านต่อที่ เพิ่มโอกาส การเติบโตธุรกิจ Start Up กับ StarWork Coworking & Office space